พานิชพล มงคลเจริญ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้อายตะนะเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์

อายตะนะเป็นการรับรู้ของบุคคล 6 ทาง หรือบางครั้งเรียกว่า อายตะนะ 6 โดยการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นี้ มีทั้งประโยชน์และโทษในขณะเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำไปใช้กับสิ่งใด กิจกรรมใด หรือภารกิจใด ซึ่งในเรื่องการใช้อายตะนะนี้ "พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต)" ได้ให้แนวทางและเปรียบเทียบการใช้ "อายตะนะ" ของแต่ละบุคคลโดยท่านได้แบ่งบุคคลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ บุคคลประเภททืั้่ใช้ "อายตะนะ" ในการ "เสพ" และ บุคคลประเภททืั้่ใช้ "อายตะนะ" ในการ "ศึกษา"

บุคคลที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" ในการ "เสพ" จะเป็นการสนับสนุน "กิเลส" ที่อยู่ในตัวตน ซึ่่งจะส่งผลต่อบุคคลนั้นๆ ได้ 3 ทาง คือ ทำให้เกิดทุกข์ ทำให้เกิดสุข และทำให้เกิดอุเบกขา
 
1. "ทำให้เกิดทุกข์" สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นี้ เกิดจากการที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลื่่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และกระทบเสทือนจิตใจ ในสิ่งที่ตนไม่ชอบ และการไม่ได้ เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลื่่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้สัมผ้ส และไม่ได้ดังใจ ในสิ่งที่ตนหวังและชื่นชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นทุกข์สำหรับผู้ที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "เสพ" เป็นหนทางแห่ง "โทษะ" ที่ไม่รับการสนองตอบในการ "เสพ" ที่ตนคาดหวัง
 
2. "ทำให้เกิดสุข" สาเหตุที่ทำให้เกิดสุขนี้ เกิดจากการที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลื่่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และถูกใจ ในสิ่งที่ตนชอบ และ การไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลื่่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้สัมผ้ส และไม่มีสื่งใดมากระทบเสทือนจิตใจ ในสิ่งที่ตนไม่ชื่นชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "เสพ" จะรู้สึกเป็นสุข และ จะมีความต้องการ "ความสุข" นี้ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นหนทางแห่ง "ความโลภ" ก็จะสถิตอยู่ในตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 
3. "ทำให้เกิด "อุเบกขา" บุคคลประเภทนี้้เป็ประเภทที่ ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใดๆ ปล่อย "อายตะนะ" ไม่รับรู้ ไม่มีความหวังใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "เสพ" จะรู้สึกเป็น "อุเบกขา" ของผู้ไม่รู้ ซึ่งเป็นหนทางแห่ง "ความหลง"
 
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าการใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "เสพ" นั้น จะเป็นหนทางให้ผู้นั้น มี ความโลภ ความโกรธ และความหลง อยู่ในตัวตน และจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า"อายตะนะ" เพื่อการ "เสพ" นั้น เป็นการเติมพลังให้กับ "กิเลส" ในตนนั่นเอง

บุคคลที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" ในการ "ศึกษา" จะส่งผลต่อบุคคลนั้นๆเพียง  2 ทาง คือ ทำให้เกิดสุข และทำให้เกิดอุเบกขา
 
1. "ทำให้เกิดสุข" สาเหตุที่ทำให้เกิดสุขได้นี้ เกิดจากการที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลื่่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส และถูกใจ ในสิ่งที่ตนชอบศึกษาหรืออยากที่จะเรียนรู้ ยิ่งได้ศึกษาได้เรียนรู้ก็จะยิ่งอยากรู้มากขึ้น และยิ่งเกิดความสุข ซึ่งผู้ที่มุ่งใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "ศึกษา" จะรู้สึกเป็นสุข
 
2. "ทำให้เกิด "อุเบกขา" บุคคลประเภทนี้้เป็นประเภทที่ "อายตะนะ" ได้รับรู้และได้ศึกษา จนถึงขั้นสูงสุด จึงมีความรู้สึกเป็น "อุเบกขา" ของผู้รู้ ซึ่งเป็นหนทางแห่ง "ความหลุดพ้น"
 
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าการใช้ "อายตะนะ" เพื่อการ "ศึกษา" นั้น จะทำให้ผู้นั้นพบแต่ความสุขในตัวตน และเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้น เมื่อเกิดสภาวะ "อุเบกขา" ในสภาวะที่ได้รับรู้หรือศึกษาถึงขั้นสูงสุด หรือเพียงพอแล้ว แต่หากการศึกษานั้นใช้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการ "เสพ" คือการเรียนรู้เพื่อหาทรัพย์ หรือเพื่อสนอง "กิเลส" ของตนแล้ว "อายตะนะ" เพื่อการศึกษานี้ก็ทำให้ตนเกิดทุกข์ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น