พานิชพล มงคลเจริญ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

BLOCK RELEASE หนทางของอาชีวศึกษาสู่การแข่งขันในกลุ่มอาเซียน

แต่เดิมอาชีวศึกษาเป็นการจัดการศึกษา เพียงเพื่อสร้างคนให้มีอาชีพเพื่อเป็นกำลังคนที่จะพัฒนาภายในประเทศเท่านั้น แต่ปัจจุบันอาชีวศึกษาต้องผลิตกำลังคน เพื่อตอบสนองต้องการแรงงานทั้งในประทศและประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่คงจะต้องมีการแข่งขันกันในระดับสูงอย่างแน่นอนซึ่งเป็นผลจากข้อตกลง ของประเทศในกลุ่มอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย,พม่า,ลาว,กัมพูชา,มาเลเซียเวียตนาม,ฟิลิปปินส์,สิงคโปร์,บรูไน และอินโดนีเซีย พร้อมใจเพื่อจะเปิดเสรีทางการค้าและแรงงาน "FTA" ซึ่งจะเริ่มในปี พ.ศ. 2558 นี้

ซึ่งหัวใจสำคัญของการแข่งขันในประชาคมโลกนั้น ก็คือการผลิตกำลังคนให้มีทักษะและมาตราฐานเพียงพอที่จะอยู่ในระดับที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศที่อยู่ในประชาคมเดียวกันได้ หากเราไม่สามารถผลิตกำลังคนให้มีทักษะได้มาตรฐาน หรือไม่มีคุณภาพ โอกาสที่กำลังคนของเราก็จะไม่เป็นที่ต้องการของสมาชิกในประชาคม และในทางกลับกัน ผู้ประกอบการในประเทศของเราอาจจะเลือกจ้างกำลังคนในกลุ่มอาเซียนแทนการจ้างานคนไทยด้วยกัน ทำให้เราเสียโอกาสในการที่จะทำงานทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการลดลงของรายได้ประชาชาติ และสภาวะการว่างงาน

ซึ่่งหน่วยงานที่ผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพ ในปริมาณที่สูงกว่าทุกหน่วยงานก็คือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีการผลิตกำลังคนทั้งใน "ระดับกึ่งฝีมือ" (ระยะสั้น) , "ระดับฝีมือ" (ปวช.) และ "ระดับเทคนิค" (ปวส.) และในอนาคตก็จะมีการผลิตกำลังคนในระดับ "ป. ตรี" (ภาคปฎิบัติ)

แต่น่าเสียดายที่ระบบการจัดการเรียนการสอน ของสอศ. มิได้ตอบสนองรูปแบบ และระบบการผลิตกำลังคนที่ถูกต้อง และเน้นทักษะฝีมือเท่าที่ควร ซึงจะเห็นได้จากการสถานประกอบการจะต้องมีการพัฒนาทักษะผู้สำเร็จการศึกษาก่อนทุกครั้ง โดยไม่สามารถให้ผู้สำเร็จการศึกษาลงมือปฏิบัติงานได้ทันที และจากการทดสอบมาตรฐานฝีมือผู้สำเร็จการศึกษา มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ถือว่าได้ระดับมาตรฐาน

สาเหตุที่สำคัญที่มีผลต่อความด้อยคุณภาพของอาชีวศึกษา ก็คิอการจัดการศึกษาที่เน้นภาคทฤษฏี โดยเฉพาะการจัดตารางเรียนเป็นแบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวคือตารางเรียนด้านวิชาชีพ มีการจัดวางรายวิชาต่างๆ แยกเป็นส่วนๆ เช่นรายวิชาเครื่องกลไฟฟ้า จะต้องมีการปฎิบัติการพันมอเตอร์ ก็มีการจัดตารางเรียนวิชานี้เป็นสัปดาห์ละ 3 คาบ บ้าง 4 คาบบ้าง ถ้าจะเรียนวิชานี้อีกตรี้งก็ต้องรอเรียนในสัปดาห์หน้า และสัปดาห์ถัดๆไปจนจบหลักสูตร ทำให้การเรียนรู้และการพัฒนาทักษะของผู้เรียนไม่ต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของผู้เรียนรวดเร็ว และต่อเนื่อง เฉพาะรายวิชาชีพจะต้องจัดตารางเรียนแบบ "ฺBLOCK RELEASE" ซึ่งก็คือการจัดตารางเรียนโดยมีการเรียนการสอนที่จบเป็นวิชาๆไป เมื่อเรียนวิชาที่ 1 จบ ก็สามารถวัดผลได้เลย จากนั้นก็ขึ้นวิชาที่ 2 และเรียนวิชาอื่นจนครบหลักสูตร ซึ่งก็คือการเรียนทีละวิชานั่นเอง สำหรับวิชาสามัญควรจัดให้เป็นตารางเรียนแบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะไม่สามารถเรียนแบบ "ฺBLOCK RELEASE" ได้ โดยควรจัดการเรียนการสอนเริ่มในสัปดาห์ต้นๆของภาคเรียน เมื่อเรียนวิชาสามัญจบทุกวิชาแล้ว จึงจัดสอนรายวิชาชีพ แบบ "ฺBLOCK RELEASE" ซึ่งในระดับ "ปวช" วิชาสามัญควรเป็นวิชาสัมพันธ์วิชาชีพ เช่น การเรียนสาขาไฟฟ้า ก็จะต้องเป็น " วิทยาศาสตร์ช่างไฟฟ้า" , "คณิตศาสตร์ช่างไฟฟ้า", "อังกฤษเทคนิคช่างไฟฟ้า" เป็นต้น แต่ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร" เพราะเราจะต้องผลิตกำลังคนเข้าแข่งขันกับเพือสมาชิกในกลุ่มอาเซียน เพราะการสื่อสารภาษาอังกฤษถือว่าเป็นจุดอ่อนของคนไทย ซึ่งมีผลต่อการขาดโอกาสในการทำงาน หากทักษะเยี่ยม แต่สื่อสารภาษาโลกไม่ได้ ก็อาจจะไม่สามารถเป็นแรงงานในระดับหัวหน้าได้

ดังนั้น "อาชีวศึกษา" จะต้องเร่งปรับระบบการเรียนการสอนวิชาชีพ เร่งปรัปรุงหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน และทันสมัย เร่งพัฒนาบุคลากรประเภทผู้สอน อย่างเร่งด่วนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป